วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ระยะเชิงมุม

ระยะเชิงมุม

admin On มิถุนายน - 12 - 2010ADD COMMENTS
ระยะเชิงมุม
ในการวัดระยะห่างของดวงดาวและเทหวัตถุต่างๆ บนท้องฟ้านั้น เราไม่สามารถวัดระยะห่างออกมาเป็นหน่วยเมตร หรือกิโลเมตรได้โดยตรงถ้า เราไม่ทราบว่าวัตถุเหล่านั้น อยู่ห่างจากเราเป็นระยะทางเท่าไร ดังนั้นการวัดระยะทางดาราศาสตร์ จึงนิยมวัดออกมาเป็น ระยะเชิงมุม (Angular distance) ตัวอย่างเช่น เราบอกว่า ดาว A อยู่ห่างจาก ดาว B เป็นระยะทาง 5 องศา หรือบอกว่าดวงจันทร์มีขนาดกี่องศา ซึ่งเป็นการบอกระยะห่างและขนาดเป็นเชิงมุมทั้งสิ้น

ภาพที่ 1 การวัดระยะเชิงมุม
ระยะเชิงมุมที่วัดได้นั้น เป็นระยะห่างที่ปรากฏให้เห็นเท่านั้น ทว่าในความเป็นจริง ดาว A และดาว B อาจอยู่ห่างจากเราไม่เท่ากัน หรืออาจจะอยู่ห่างจากเราเป็นระยะที่เท่ากันจริงๆ ก็ได้ เนื่องจากดาวที่เราเห็นในท้องฟ้านั้นเราเห็นเพียง 2 มิติเท่านั้น ส่วนมิติความลึกนั้นเราไม่สามารถสังเกตได้
การวัดระยะเชิงมุมอย่างง่าย
ในการวัดระยะเชิงมุมถ้าต้องการค่าที่ละเอียดและมีความแม่นยำ จะต้องใช้อุปกรณ์ที่มีความซับซ้อนมากในการวัด แต่ถ้าต้องการเพียงค่าโดยประมาณ เราสามารถวัดระยะเชิงมุมได้โดยใช้เพียงมือและนิ้วของเราเองเท่านั้น เช่น ถ้าเรากางมือชูนิ้วโป้งและนิ้วก้อย โดยเหยียดแขนให้สุด ความกว้างของนิ้วทั้งสองเทียบกับมุมบนท้องฟ้า จะได้มุมประมาณ 18 องศา ถ้าดาวสองดวงอยู่ห่างกันด้วยความกว้างนี้แสดงว่า ดาวทั้งสองอยู่ห่างกัน 18 องศาด้วย

ภาพที่ 2 การใช้มือวัดมุม
ในคืนที่มีดวงจันทร์เต็มดวง ให้เราลองกำมือชูนิ้วก้อยและเหยียดแขนออกไปให้สุด ทาบนิ้วก้อยกับดวงจันทร์ เราจะพบว่านิ้วก้อยของเราจะบังดวงจันทร์ได้พอดี เราจึงบอกได้ว่าดวงจันทร์มี “ขนาดเชิงมุม” (Angular Diameter) เท่ากับ 1/2 องศา โดยขนาดเชิงมุมก็คือ ระยะเชิงมุมที่วัดระหว่างขอบ ของดวงจันทร์นั้นเอง ขนาดเชิงมุมของวัตถุขึ้นอยู่กับระยะห่างของวัตถุกับผู้สังเกต และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางจริงของวัตถุนั้น

ภาพที่ 3 ขนาดเชิงมุม
ยกตัวอย่าง: ลองจินตนาการภาพลูกบอลวางอยู่ห่างจากเรา 1 เมตร ให้เราลองวัดขนาดเชิงมุมของลูกบอล จากนั้นเลื่อนลูกบอลให้ไกลออกไปเป็นระยะทาง 3 เท่า ขนาดเชิงมุมจะลดลงเป็น 1 ใน 3 ของขนาดที่วัดได้ก่อนหน้านี้ ดังนั้น “ค่าขนาดเชิงมุม” คือ อัตราส่วนของขนาดจริง ต่อ ระยะห่างของวัตถุ
ที่มา http://portal.edu.chula.ac.th/lesa_cd/assets//document/LESA212/1/celestial_sphere/angular_distance/angular_distance.html

สิ่งมีชีวิต

admin On พฤษภาคม - 22 - 2010ADD COMMENTS
เนื้อหาในเรื่อง สิ่งมีชีวิต นี้เน้นให้เข้าใจถึงที่มาและวิวัฒนาการ
ของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ อิทธิพลของ
สิ่งมีชีวิตที่มีต่อบรรยากาศโลก และพัฒนาการของโลก โดย
การศึกษาทางธรณีวิทยา

บทที่ 9 สิ่งมีชีวิต
:: องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต
:: วิวัฒนาการ และความหลากหลายทางชีวภาพ
:: อิทธิพลของสิ่งมีชีวิตต่อบรรยากาศโลก
:: ปัจจัยที่ทำให้โลกเป็นถิ่นที่อยู่อาศัย
:: เวลาทางธรณี

ธรณี

admin On พฤษภาคม - 22 - 2010ADD COMMENTS
เนื้อหาในเรื่องธรณี นี้เน้นให้มีความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง
ของเปลือกโลก วัฏจักรที่มาของหินประเภทต่างๆ รู้จักกำเนิด
และประเภทของดิน และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องดิน
ในท้องถิ่นของตนเองได้


บทที่ 8 ธรณี
:: โครงสร้างของโลก
:: การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก
:: แร่
:: หิน
:: ดิน

ระบบโลก

admin On พฤษภาคม - 22 - 2010ADD COMMENTS

ระบบโลก

เนื้อหาในเรื่อง ระบบโลก นี้ เน้นให้ สามารถมองโลก อย่างเป็นระบบ (Earth as a system) มีความเข้าใจในกลไกการปรับสมดุลของ ธรรมชาติ ด้วยการสะท้อนและดูดกลืนพลังงานในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์
บทที่ 5 การเปลี่ยนแปลงสภาวะของโลก
:: กลไกการปรับสมดุลของโลก
:: ภาวะเรือนกระจก
:: การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอากาศโลก
:: ปรากฏการณ์โลกร้อน
:: การลดลงของโอโซน
:: เอลนีโญ – ลานีญา
:: การทำลายป่าฝนเขตร้อน

อวกาศ

เนื้อหาในเรื่อง อวกาศ แบ่งออกเป็นสี่บท คือ การสังเกตการณ์
ท้องฟ้าซึ่งมุ่งเน้น ให้นักเรียนเข้าใจในเรื่องการเคลื่อนที่ของ
ทรงกลมท้องฟ้าและทำความเข้าใจในองค์ประกอบความ
สัมพันธ์ของระบบสุริยะ วัฏจักรของดาวฤกษ์รวมไปถึง
กาแล็กซีและเอกภพ
บทที่ 1 การสังเกตการณ์ท้องฟ้า
:: ตำแหน่งของโลกในจักรวาล
:: การเคลื่อนที่ของทรงกลมท้องฟ้า
:: กลุ่มดาว
:: การดูดาวภาคปฏิบัติ
:: กล้องโทรทรรศน์
บทที่ 2 ระบบสุริยะ
:: องค์ประกอบของระบบสุริยะ
:: นิยามของดาวเคราะห์
:: ดวงอาทิตย์
:: ดาวเคราะห์ และดวงจันทร์บริวาร
:: ดาวเคราะห์แคระ
:: วัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ
:: กฏเกี่ยวกับวงโคจร
:: จรวดและยานอวกาศ
:: ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์
บทที่ 3 ดาวฤกษ์
:: ธรรมชาติของแสง
:: กำเนิดดาวฤกษ์
:: ดาวในลำดับหลัก
:: จุดจบของดาวฤกษ์
:: ดาวคู่ และดาวแปรแสง
บทที่ 4 กาแล็กซี และเอกภพ
:: กาแล็กซีทางช้างเผือก
:: การสังเกตทางช้างเผือก
:: กาแล็กซีประเภทต่างๆ
:: กระจุกกาแล็กซี
:: สสารมืด
:: กฏฮับเบิล
:: ทฤษฎีบิกแบง

การกำหนดทิศ

admin On พฤษภาคม - 16 - 2010ADD COMMENTS
การกำหนดทิศ
เมื่อเราอยู่กลางแจ้งและมองไปรอบๆ ตัว เราจะเห็นพื้นโลกทอดไกลออกไปจรดขอบฟ้าเป็นรูปครึ่ง
วงกลม เราเรียกเส้นตัดระหว่างพื้นโลกกับขอบฟ้าว่า เส้นขอบฟ้า (Horizon) เส้นขอบฟ้าเป็นเส้นวงกลม
ล้อมรอบตัวในแนวราบ เมื่อสังเกตการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ในเวลาเช้า จะเห็นดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นมา
จากขอบฟ้าด้านหนึ่ง เรียกว่า ทิศตะวันออก และดวงอาทิตย์ จะเคลื่อนที่ขึ้นสูงที่สุดในเวลาประมาณเที่ยง
วัน จากนั้นดวงอาทิตย์จะเคลื่อนต่ำลงกระทั่งตกลับขอบฟ้าอีกด้านหนึ่งเรียกว่า ทิศตะวันตก การขึ้น – ตก
ของดวงอาทิตย์ เกิดจากการหมุนรอบตัวเองของโลกตามแกนเหนือ – ใต้ ดังนั้นการกำหนดทิศทางบน
โลก จึงแบ่งออกเป็น 4 ทิศหลัก คือ ทิศตะวันออก (East) ทิศตะวันตก (West) ทิศเหนือ (North) และทิศ
ใต้ (South)  โดยทิศทั้งสี่มีความสัมพันธ์กันดังนี้

ภาพที่ 1 เมื่อหันหน้าไปทางเหนือ
ด้านหลังของเราจะเป็นทิศใต้
แขนซ้ายจะชี้ไปทางทิศตะวันตก
แขนขวาจะชี้ไปทางทิศตะวันออก

ภาพที่ 2 เมื่อหันหน้าไปทางทิศตะวันตก
ด้านหลังของเราจะเป็นทิศตะวันออก
แขนซ้ายจะชี้ไปทางทิศใต้
แขนขวาจะชี้ไปทางทิศเหนือ

ภาพที่ 3 จุดเหนือศีรษะ
จุดสูงที่สุดบนฟ้าจะอยู่เหนือศีรษะพอดี เรียกว่า
จุดเหนือศีรษะ  (Zenith)
จุดเหนือศีรษะทำมุมกับผู้สังเกตการณ์ และขอบฟ้า
ทุกๆ ด้าน เป็นมุมฉาก (90°) พอดี
การบอกตำแหน่งดาว

ภาพที่ 4 มุมอาซิมุท และมุมเงย
ในการบอกตำแหน่งเทห์วัตถุท้องฟ้าอย่างง่าย ซึ่งเรียกว่า ระบบ “อัลตาซิมุท” (Alt-azimuth) นั้น  เราบอกด้วยค่ามุมสองชนิด คือ มุมอาซิมุท และมุมเงย
มุมอาซิมุท (Azimuth) เป็นมุมในแนวราบ นับจากทิศเหนือ ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา ไปยังทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก และกลับมาทิศเหนืออีกครั้งหนึ่ง มีค่าระหว่าง 0 – 360 องศา
มุมเงย (Altitude) เป็นมุมในแนวตั้ง นับจากเส้นขอบฟ้าขึ้นไปสู่จุดเหนือศีรษะ มีค่าระหว่าง
0 – 90 องศา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น