วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Ghost of Mirach หรือ NGC 404

Ghost of Mirach หรือ NGC 404

คือกาแล็คซี่ ประเภท Lenticular (ดาราจักรคล้ายเลนซ์ ) สำรวจพบโดย William
Herschel เมื่อ ค.ศ.1784 อยู่บริเวณขอบ Local Group (กลุ่มกาแล็คซีเพื่อนบ้าน)
โดยยังไม่ทราบว่ามีระบบผูกมัดแรงดึงดูดระหว่างกัน (Gravitationally bound)
กับทางช้างเผือกหรือไม่ โดยมีระยะทางห่างจากโลกราว 3.6 พันล้านปีแสง

แท้จริงแล้วเป็นกาแล็คซี่แบบกังหัน แต่สั้นกว่าไม่มีลักษณะขดเป็นวงแบบกังหัน
ส่วนแผ่นจาน (Disk) ดูนุ่มนวล (Smooth) เนื่องจากมีการหยุดพัฒนารูปแบบของ
ดวงดาวมานาน เหตุผลมวลพลังงานใช้ไปเกือบหมดสิ้น เป็นเงื่อนไขการ เกิดขึ้น
จากองค์ประกอบ (ของกาแล็คซี่แบบกังหัน) จะเต็มไปด้วย กลุ่มดาวเก่าแก่ (Old Stars) มีกระจุกดาวแบบทรงกลมบริเวณกระเปาะ จะเห็นมวลรัศมี แสงกระจาย
วงกลมเด่นชัดอยู่ตรงกลาง เมื่อมองจากระยะไกลเป็นส่วนใหญ่

หากจะสังเกตกาแล็คซี่ ลักษณะคล้ายเลนซ์เกือบไม่แตกต่าง กับกาแล็คซี่รูปไข่
เมื่อมองจากโลกในระยะไกล นั้นเป็นความเข้าใจเดิมของ NGC 404
 
 
ภาพถ่าย Ghost of Mirach (NGC 404) จากโลก
 
 
Andromeda constellation
 
 
กาแล็คซี่ปีศาจ (หรือเงาภูตวิญญาน) Mirach

การถูกเปิดเผย NGC 404 ในชื่อว่า Ghost of Mirach (อ่านว่า mi-rak) มีนัยความ
หมาย เดิมในภาษา Arabic ว่า Loincloth (ผ้าเตี่ยว) หรือ Girdle (ผ้าพันคาดล้อม
ลำตัว) อาจแปลรวมกัน ให้ความหมายว่า เงาปีศาจหรือเงาภูตวิญญาญ ที่แต่งร่าง
ด้วย ผ้าเตี่ยวพันกาย (แบบกรีก)

แต่ความหมายจริงๆ นักดาราศาสตร์ มิได้เจตนาให้เกิดความน่ากลัว ในเรื่องชื่อที่
ตั้งขึ้น เพราะ Ghost of Mirach มองเห็นเป็นเพียงเงาสลัวรางเลือนมาก ด้วยความ
ที่มีตำแหน่งบนท้องฟ้า อยู่แนวใกล้ด้านหลังของ Beta Andromedae (มีอีกชื่อว่า
Mirach ระยะทางห่างจากโลก 200 ปีแสง) โดย Ghost of Mirach มีระยะห่าง
จากโลกลึกออกไปใกล้ นับล้านปีแสงอยู่เบื้องหลัง

จึงเปรียบเหมือนว่าดาวที่สุกใส Beta Andromedae (Mirach) มีเงาทอดยาวไกล
ออกไปเป็น Ghost of Mirach (NGC 404) และตำแหน่งของ Beta Andromedae
(Mirach) อยู่บริเวณชายผ้าพันกายของ หมู่ดาวAndromedae (ที่เป็นภูตวิญญาน)
ทั้งนี้การตั้งชื่อดาว เกือบทั้งหมดถูกตั้งในครั้นโบราณ ชื่อจึงมักเกี่ยวข้องกับเทพ
เจ้า ภูตวิญญาน หรือเรื่องเล่าประรำประรา ให้ฟังดูน่ายำเกรง
 
 
ภารสำรวจจากทางภาคพื้นดิน โดย National Radio Astronomy Observatory (NRAO)
 
 
คำเฉลยใหม่ สำรวจพบโดย NASA's Galaxy Evolution Explorer
 
 
เจาะทะลุผ่านรังสี พบดาวใหม่ ล้อมเป็นวงแหวน

การสอดแหนมเข้าไปใน Ghost of Mirach (NGC 404) เต็มไปด้วยแสงสะท้อน
ของรังสี Ultraviolet พบปรากฎที่น่ากลัว กำลังแสดงความหายนะของกาแล็คซี่
แต่กลับพบกลุ่มดาวใหม่ (New stars) จำนวนมากกำลังก่อตัวอย่างเป็นระบบ
โดยรอบ น่าจะนับเป็นประเภท Hybrid galaxy (กาแล็คซีแบบพันทางลูกผสม)

มีเรื่องราวเคยบันทึก ทางดาราศาสตร์ ในรายงานว่า เป็นพฤติกรรมเช่นนี้เป็นที่
รู้จักดีของ ในกลุ่มดาวเก่าแก่มากๆ ได้เช่นกัน

ด้วยสาเหตุจากโครงการ Galaxy Evolution Explorer ได้เปลี่ยนการค้นหาแบบ
ใหม่ มุ่งสำรวจท้องฟ้าเข้าไปในแสง Ultraviolet ด้วย Ultraviolet telescopes ใน
อวกาศ ต่างจากการสำรวจแบบเดิมบนพื้นโลกของ National Radio Astronomy Observatory (NRAO) ซึ่งใช้คลื่นวิทยุ ไม่สามารถเจาะผ่านแสงสะท้อนของรังสี
Ultraviolet เข้าไปได้

การสำรวจของ Galaxy Evolution Explorer ได้แสดงให้เห็นข้อมูลใหม่พบโครง
สร้างรอบๆภายในกาแล็คซี ฟุ้งกระจายไปด้วยความสว่างจ้า และมีกลุ่มดาวใหม่
ล้อมรอบเป็นวงแหวน (Ring of stars) เป็นภาพที่ยังไม่เคยเห็นมาก่อน

เพราะเดิมถูกบดบังด้วยแสงจ้าจัดของ Red giant star (ดาวยักษ์สีแดง) ด้วย
จึงยากต่อ สำรวจจากพื้นโลก ปัญหาที่สงสัยคือ อะไรที่ทำให้ Ultraviolet ring
(วงแหวนรังสีอุตร้าไวโอเลท) เป็นลักษณะกลุ่มมวลไม่ทราบจำพวกที่แท้จริงมี
อยู่รอบๆ NGC 404 สะท้อนออกมาให้เห็นเช่นในประเภท Lenticular galaxy
(ดาราจักรคล้ายเลนซ์)

จากการสำรวจภาคพื้นดินข้อมูลเดิม ด้วยคลื่นวิทยุจากโลก ระบุว่าพบกลุ่มก็าซ
Hydrogen ล้อมรอบสอดคล้องกับการสำรวจใหม่ พบว่ารอบเขตมีรังสี Ultraviolet

การวิเคราะห์มีเหตุผลว่าเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว ของวงแหวนของก๊าซ จากเกิด
การชนกันอย่างรุนแรง ของ NGC 404 กับกาแล็คซีขนาดเล็ก ในบริเวณใกล้เคียง
เมื่อ 900 ล้านปีที่แล้ว จึงเกิดรังสี Ultraviolet สะท้อนแสงกระจายบดบัง NGC 404
ทั่วอาณาเขต ปกปิดดาวที่อยู่ภายในทำให้มองไม่เห็น จนกระทั้งการสำรวจใหม่นี้
 
 
ภาพถ่ายการสำรวจเดิม พบว่าถูกบังด้วยแสง ดาวยักษ์สีแดง Mirach
 
 
ภาพใหม่สามารถถ่ายผ่านรังสี มองเห็นกลุ่มดาวใหม่ (สีน้ำเงิน) ล้อมรอบ Ghost of Mirach
 
 
รอบกาแล็คซี่ พบ วงแหวนก๊าซ
 
20
เหตุการฟื้นคืนชีพของ Ghost of Mirach

การสำแดง Ultraviolet นั้นเกิดจาก Hydrogen เดิมที่มีอยู่ด้วยเหตุการชนปะทะกัน
ของ Lenticular galaxy ดาวจึงก่อตัวในวงแหวนดังกล่าว เหตุผลสำคัญดาวที่อายุ
น้อยมีความสัมพันธ์ กับรูปแบบความร้อนต่อการก่อตัว ในแหล่งเอื้อการกำเนิดดาว
(Stellar clusters) มีทั่วไปในจักรวาล ตลอดทั้งหมดในวงแหวนปิดของ NGC 404

ก่อนหน้านี้เชื่อว่าในกาแล็คซี NGC 404 มีดาวสีแดง (Red stars) เก่าแก่มากและ
มีจำนวนมาก จึงแสดงขอบแสงเรืองออกมาเป็นรูปไข่ (Elliptical shape) ด้วยอายุ
ที่มากเพียงประเด็นเดียว ไม่ใช่ด้วยลักษณะการพัฒนาการตัวเองที่ยาวนาน

อย่างไรก็ตามการมองเห็นภาพใหม่ขณะนี้ เปรียบเหมือนการคืนชีพกลับมาของ
กาแล็กซี่ โดยมีดาวใหม่เกิดขึ้นในอ้อมอก นับเป็นความโชดดีของระบบภายใน
กาแล็คซี่ ความกระปี้กระเปร่าของมวลพลังงาน เป็นหนุ่มสาวขึ้นอีกครั้ง เปรียบ
เช่น ปีศาจแวมไพร์ (Vampire) คืนชีพในนวนิยาย ตามความเชื่อของชาวยุโรป
มิฉะนั้น จะเป็นหนการรวมตัวไปสู่ กาแล็คซีแคระได้

การค้นพบดังกล่าว ปรากฎความไม่สมบูรณ์ในประเภท Lenticular galaxies ของ
Ghost of Mirach แต่การสืบเนื่องก่อตัวดาวไปอย่างช้าๆ ทีละน้อยตามกฎเกณฑ์
แห่งธรรมชาติจักรวาล จากก๊าซของดวงดาว ขยายตัวไปสู่ขอบเขตของกาแล็คซี่
และใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ โดยมีข้อมูลใหม่ขนาดกว้าง ของกาแล็คซี 55,000 ปีแสง
มีระยะทางห่างจากโลก 11 ล้านปีแสง (ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้)
 
 
ข้อสรุปใหม่อีกประเด็น มีระยะทางห่างจากโลก 11 ล้านปีแสง

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Solar Observing : ดวงอาทิตย์..ดาวที่เราลืมดู

  Solar Observing : ดวงอาทิตย์..ดาวที่เราลืมดู [หน้า 1/2]
 
 
ดวงอาทิตย์ มีบทบาทไม่เฉพาะโลกเท่านั้น ยังมีบทบาทครอบคลุม ไปทั้งระบบ
สุริยะ และเป็นดาวที่อยู่ใกล้เรามากที่สุด จนบางครั้งเราลืมไปแล้วว่า ดวงอาทิตย์
ก็เป็นเช่นดาว ดวงหนึ่งของจักรวาล

สิ่งที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์ มีภาพเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แสดงให้เห็นถึงความบิด
เบี้ยวจาก ชั้นบรรยากาศดวงอาทิตย์ การมองเห็นระลอกคลื่น หรือความแววระยับ
จากการพุ่งระเบิดแตกขึ้น ของเปลวเพลิง ทั้งหมดเกิดอย่างกระทันหัน เป็นภาพ
ปรากฎการณ์ ที่น่าตื่นตาตื่นใจ น่าติดตาม และดวงอาทิตย์หมุนรอบตัวราว 27 วัน
จึงสามารถมองเห็นครบถ้วนทุกพื้นที่ ได้โดยไม่ซ้ำกันตลอดเดือน

คำเตือนและความเข้าใจ เรื่องการดูดวงอาทิตย์

การดูดวงอาทิตย์ ไม่สามารถดูด้วยตาเปล่า เนื่องจากมีอันตราย ถึงตาบอดได้
และการดูดวงอาทิตย์ทุกครั้ง ต้องให้มีความปลอดภัย ด้วยการใช้ Solar filter
(แผ่นกรองแสงดวงอาทิตย์ / Thousand Oaks Optical หรือ Baader film)
ทำหน้าที่กรองแสงดวงอาทิตย์ได้อย่างมาตรฐาน

ดวงอาทิตย์มีความสุกสว่างจัดมาก มีแสง Visible light และอิทธิพลของรังสี Infrared , Ultraviolet มีความเข้มข้นสูง ก่อให้เกิดอันตรายเสียหาย ต่อดวงตา
อย่างถาวร หากเพ่งมองด้วยตาเปล่า เพียงไม่กี่วินาที

ดวงตายอมให้รังสีผ่านในระดับ 3,800 -14,000 angstroms สู่ Retina (เหยื่อ
ชั้นในของลูกตาหรือจอตา) หากค่ารังสีเข้มข้น จะทำให้ Retina ไหม้ได้ การ
ใช้ Solar filter เพื่อความปลอดภัยจะช่วยขัดขวาง รังสี Infrared , Ultraviolet
ก่อนที่มาถึงตา และยังช่วยลด Visible light ที่สว่างจัดของดวงอาทิตย์ ให้มอง
เห็นได้สบายตาขึ้นมาก

คลื่นแสงแต่ละระดับ มีความสามารถทำอันตราย สำหรับระดับปลอดภัย (Safe
level) คำนวณได้จาก จุดอัตราส่วนระหว่าง ความเข้มข้นของพลังงานในอัตรา
สูงสุด และอัตราจุดเปลี่ยนแปลง ของระดับความเสียหาย ซึ่งจะมีความปลอดภัย
มากที่สุด ที่จะอนุญาติให้คลื่นแสงส่งผ่านเข้ามา ระหว่าง 0.1-1% (Ratio)
สำหรับ Bandpass ระหว่าง 3,800-14,000 angstroms (Blue- near infrared)
Filter ยอมให้ผ่าน .0032% ถือว่าปลอดภัย เป็นต้น

Hydrogen Alpha Filters เป็นลักษณะพิเศษของ Filter มีเป้าหมายขนาดใหญ่
รับค่าเปล่งรังสี จากไฮโดรเจน (Emission line for Hydrogen) โดยการกำจัด
แสงอื่นออกไป จึงสามารถเห็น ภาวะกิจกรรมต่างๆ ทางเคมี ที่กำลังเกิดขึ้นเพื่อ
ศึกษาพฤติกรรมของดวงอาทิตย์ (Solar Activity)

เหตุผล ดวงอาทิตย์มีความสว่างจัดจ้ามาก การใช้กล้องดูดวงอาทิตย์ จึงไม่ต้อง
การให้แสงผ่านเข้ามามาก เป็นการต้องการความมืด หรือพยายามขจัดแสงออก
ไปมากกว่า ทั้งนี้ห้ามใช้ กล้องดูดาว กล้องส่องทางไกล ดูดวงอาทิตย์ โดย
ไม่ใช้ Solar filter ป้องกันแสงอย่างเด็ดขาด

การจำกัดความแคบของค่าแสง (Narrower the bandpass) ทำให้แสงถูกละ
ทิ้งไป เป็นความละเอียด ปราณีตในการผลิตชิ้นอุปกรณ ์ของแต่ละผู้ผลิต ซึ่ง
ให้เกิดค่าภาพความแตกต่างสูง (Higher contrast) และราคาอาจสูงขึ้นไปด้วย

ภาพประกอบคำอธิบายชุดนี้ บางส่วนเป็น ภาพถ่ายจากพื้นโลกโดยใช้กล้อง
Hydrogen Alpha
และเปรียบเทียบ จากภาพถ่ายจากยานสำรวจ หรือดาวเทียม
เพื่อให้เห็นมุมมองแต่ละแบบ ประสงค์ให้ผู้สนใจ การสำรวจดวงอาทิตย์ จากพื้น
โลกสามารถเห็นภาพ พฤติกรรมของดวงอาทิตย์ ได้เข้าใจยิ่งขึ้น
 
   
ภาพถ่ายจากพื้นโลก ( Hydrogen Alpha)
   
ภาพถ่ายจากยานสำรวจ หรือ ดาวเทียม
 
 
โครงสร้างของดวงอาทิตย์ (Structure of the Sun)
 
 
เปรียบเทียบดวงอาทิตย์ กับดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
 
 
Chromosphere : โครโมสเฟียร์
 
 
Chromosphere (โครโมสเฟียร์) มีอุณหภูมิราว 10,000 K ลักษณะดังกล่าวเป็น
เปลือกของก๊าซรอบๆ ชั้นพื้นของบรรยากาศดวงอาทิตย์ ซึ่งมีน้อยกว่า 1%จาก
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางดวงอาทิตย์

ตำแหน่ง Chromosphere คือ ชั้นบางๆของบรรยากาศ อยู่กลางระหว่าง ของชั้น
โฟโตสเฟียร์ (Photosphere) และโคโรน่า (Corona) โดยโคโรน่าเป็นชั้นนอกสุด
ของดวงอาทิตย์ มีความร้อนสูง และเต็มไปด้วย Ionized plasma (ละอองก๊าซ
ความร้อนสูง)

ความหมายของ Chromosphere คือ Sphere of color (ขอบเขตทรงกลมของสี)
และสามารถมองเห็นได้ เพราะแสงสว่างจ้าของ ชั้นโฟโตสเฟียร์ (Photosphere)
ฉายเปล่งคล้ายเป็นเส้นแบ่งบางๆ บริเวณขอบ

โครงสร้างของ Chromosphere มีการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงเสมอ เป็นบริเวณ
ที่มีความแข็งแกร่งของ เส้นสนามแม่เหล็ก (Magnetic field lines) ทั้งหมดถูก
ครอบงำด้วย พลังงานแม่เหล็ก (Magnetic forces) ถูกลากดึงเป็น เส้นวงเปลว
สุริยะ (Loop Prominences) ท่ามกลางบรรยากาศของ แสงรังสีกระนั้นราว ทุกๆ
5 นาที เส้นวงเปลวสุริยะ จะแกว่งไปมาจาก โครงข่ายพลังงานภายใน (Intra-
Network)
 
 
Chromosphere (โครโมสเฟียร์) คือ Sphere of color (ขอบเขตทรงกลมของสี)
 
 
Chromosphere (โครโมสเฟียร์) คล้ายเป็นขอบเส้นแบ่งบางๆ มีความสว่างจัด เมื่อมองจากโลก
 
 
Chromosphere (โครโมสเฟียร์) มองระยะใกล้ ภาพจากยานสำรวจ
 
 
Prominences : เปลวสุริยะ หรือ พวยก็าซ
 
 
เป็นบริเวณร้อนน้อยกว่าทั่วไป Prominences (เปลวสุริยะ) ส่วนที่ฝังอยู่ด้านล่าง
มีความหนาแน่นของก๊าซสูง ส่วนยอดบริเวณ Corona (โคโลน่า) มีความหนาแน่น
ของก๊าซต่ำ แต่ความร้อนเพิ่มสูงขึ้นกว่าด้านล่าง

Prominences เหมือนคล้ายเส้นใยทะยานสูง บางครั้ง ถึง 1,000,000 กิโลเมตร
จึงมีความชัดเจนว่าโยงใยกับสนามแม่เหล็ก (Magnetic fields) กับชั้นโฟโตสเฟียร์
(Photosphere)

บริเวณที่ Prominences สงบไปแล้วนับสัปดาห์หรือนับเดือน อาจปรากฎขึ้นใหม่
อีกได้ หากบริเวณนั้นเป็นเขต Active region (พื้นที่สนามแม่เหล็กแข็งแกร่งสูง)

Prominences สังเกตง่ายเมื่อมองดวงอาทิตย์ด้านตรง บริเวณขอบจะเห็นเปลว
ก๊าซโผล่พ้นขอบออกมา โดยสลับสูงต่ำและมีการเคลื่อนไหวรวดเร็วเป็นลักษณะ
เปลวไฟที่ลุกไหม้จากก๊าซ ภาพความสว่างของแสง ตัดกับขอบของอวกาศที่มืด
ยิ่งเพิ่มความชัดเจน
 
 
Prominences (เปลวสุริยะ) มีความชัดเจนว่าโยงใยกับ สนามแม่เหล็ก (Magnetic fields)
 
 
Prominences (เปลวสุริยะ) เป็นลักษณะเปลวไฟที่ลุกไหม้จากก๊าซ
 
 
Prominences (เปลวสุริยะ) ทะยานสูง บางครั้งสูง ถึง 1,000,000 กิโลเมตร
 
 
Prominences (วงเปลวสุริยะ) ภาพจากยานสำรวจ
 
 
Loop Prominences (วงเปลวสุริยะ) ภาพจากยานสำรวจ
 
 
Spicules : หนามสุริยะ
 
 
เกิดขึ้นบริเวณ Chromosphere (โครโมสเฟียร์) เป็นพื้นที่ Non-active regions
(พื้นที่ไม่มีความแข็งแกร่ง ของสนามแม่เหล็ก)

ก่อนอื่นให้จิตนาการ ถึงท่อที่มีหัวแหลมความยาว เท่ากับทวีปเอเชีย และในท่อนั้น
เต็มไปด้วย Plasma (ก๊าซร้อน) แต่ท่อนั้นมิได้ถูกสร้างด้วยโลหะ กลับมีโครงสร้าง
เป็นสนามแม่เหล็กโปร่งแสง (Transparent magnetic field) ซึ่งยังเป็นปริศนาใน
การเปลี่ยนแปลง ของหลอดท่อแม่เหล็กโปร่งแสงดังกล่าว

สถานะของ Spicules (หนามสุริยะ) มีช่วงอายุ 5-15 นาที โดยขึ้นอยู่กับความเร็ว
ความยาว ความบาง ซึ่งไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ขนาดทั่วไปของ Spicules มีเส้นผ่า
ศูนย์กลางราว 100 กม. มีความยาวราว 10,000 กม.โดยด้านหัวสามารถขับดันพุ่ง
ยิงก็าซร้อน ออกไปสู่ชั้นนอกสุดของดวงอาทิตย์ (Corona) ด้วยความเร็ว 30
กม./ชม. และก๊าซร้อนจะรั่วหายไป ในชั้นบรรยากาศในที่สุด

Spicules ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่มากถึง 500 กม.เรียกว่า Spicules Jets
(เปลวไอพ่น) แต่เมื่อเทียบกับ Prominences (เปลวสุริยะ) แล้ว Spicules ยังมี
ขนาดที่เล็กกว่ามาก โดยสังเกตว่าด้านหัวจะแหลม

การสำรวจต้องมีความละเอียดถี่ถ้วน เพราะสังเกตยาก เมื่อมองจากโลกมีขนาด
เล็กคล้ายกับ เส้นผมที่ถูกกระตุ้นโดยไฟฟ้าสถิต (ขนลุก) เกิดพร้อมๆกัน ราว
60,000 - 70,000 ครั้ง ตลอดเวลา มีความสว่าง เปล่งปลั่ง ไหวตัวเลื้อยไปมาบน
ผิวด้านนอก ของดวงอาทิตย์ ด้วยจำนวนมากจึงมองดูคล้ายหนาม หรืออาจมอง
คล้ายลักษณะเหมือนทุ่งหญ้ากำลังถูกไฟไหม้
 
 
Spicules (หนามสุริยะ) มีช่วงอายุ 5-15 นาที
 
 
Spicules (หนามสุริยะ) เมื่อมองจากโลก ลักษณะเหมือนทุ่งหญ้ากำลังถูกไฟไหม้
 
 
Spicules (หนามสุริยะ) จะพุ่งหายออกไปในบรรยากาศ ภายในเวลาสั้น
 
 
Spicules Jets (เปลวไอพ่น)
 
 
Spicules (หนามสุริยะ) ภาพจากยานสำรวจ
 
 
Field Transition Arches : วงเชื่อมสะพานโค้ง
 
 
จำนวนจุดมืดบนดวงอาทิตย์ นั้นเกิดขึ้นแล้วแต่กรณี จะมีวัฐจักรเรียกว่า Solar
Activity พฤติกรรมของดวงอาทิตย์ ราว 11 ปี โดยปกติจุดมืด มักเกิดขึ้นเป็นคู่ๆ
หรือ เป็นกลุ่มอยู่ตรงข้ามกัน เหตุเพราะลักษณะของแม่เหล็ก ต้องเคลื่อนไหวเข้า
หากันเป็นคู่

ขั้วแม่เหล็กหลัก เรียกว่า P spot หลังจะจับคู่เกี่ยวพันกันได้ เรียกอีกขั้วว่า F spot
เกิดพร้อมๆกัน ในขณะดวงอาทิตย์หมุนรอบตัวเอง โดยสามารถ จัดประเภทของ
กลุ่มจุดบนดวงอาทิตย์เรียกว่า Sunspot group classification

Field Transition Arches หรือ FTA's (วงเชื่อมสะพานโค้ง) คือ ส่วนเชื่อมต่อ
ระหว่าง ขั้วเหล็กหลัก คือ P spot กับขั้วแม่เหล็กรอง คือ F spot

โดย Field Transition Arches หรือ FTA's มีความต่างกับ Filaments (ใยสุริยะ) เพราะจะบางและไม่ดำทึบ ปกติมี Plage (รอยหย่อมสว่าง) หรือ Granular (ฟอง
สุริยะ) อยู่ด้านล่างใกล้บริเวณนั้นด้วย
 
 
Field Transition Arches หรือ FTA's (วงเชื่อมสะพานโค้ง)
 
 
เป็นอาการของ คุณสมบัติไฟฟ้าสนามแม่เหล็ก ที่ภายในมีความแข็งแกร่งเชื่อมถึงกัน
 
 
Field Transition Arches หรือ FTA's (วงเชื่อมสะพานโค้ง) ภาพจากยานสำรวจ
 
 
Plages : รอยหย่อมสว่าง
 
 
เปรียบเสมือน รอยด่างของพรมที่สวยงาม ของดวงอาทิตย์ ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นพื้น
ที่ของ Granules (ฟองสุริยะ) เปิดช่องให้เกิดขึ้น ด้วยเงื่อนไขจากความร้อนใน บรรยากาศ มีความต่อเนื่องไม่หยุดในพื้นที่นั้น จึงมีความร้อนสูงและความสว่างจ้า

บริเวณ Plage (รอยหย่อมสว่าง) เกิดขึ้นใกล้บริเวณ Active region (พื้นที่สนาม
แม่เหล็กแข็งแกร่งสูง) มีสถานะช่วงอายุหลายวัน รูปทรงสันฐานของรอยหย่อม
มีรูปแบบที่ไม่แน่นอน และมีความสว่างแปรผัน จุดรอยหย่อม มักผุดขึ้นตามแนว
ตั้งหรือใกล้เส้นย้อนไหลกลับ ของสนามแม่เหล็ก (Reconnecting magnetic
field lines) ใกล้กับ จุดบนดวงอาทิตย์ (Sunspots)
 
 
Plage (รอยหย่อมสว่าง) มักเกิดบริเวณ Active region บริเวณ จุดบนดวงอาทิตย์ (Sunspots)
 
 
Plage (รอยหย่อมสว่าง) ผุดปรากฎโดยไม่มีรูปแบบที่แน่นอน
 
 
Plage (รอยหย่อมสว่าง) มักเกิดบริเวณ Active region ใกล้บริเวณ Filaments (ใยสุริยะ)
 
   






























































































































































 

       © copyright sunflowercosmos 2007-2017