วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554


ความหมายของทรัพยากรการท่องเที่ยว

ทรัพยากรการท่องเที่ยวจัดเป็นสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวที่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ได้มีผู้กล่าวถึงความหมายของทรัพยากรการท่องเที่ยวหลายทรรศนะ เช่น ศาสตราจารย์ ดร.มนัส สุวรรณ และคณะ กล่าวว่า ทรัพยากรการท่องเที่ยว หมายถึง พื้นที่ สิ่งของ กิจกรรม และ/หรือมิติอื่นใดที่สามารถให้คุณค่าเชิงการท่องเที่ยว เช่น ความสวยงามตามธรรมชาติ คุณค่าเชิงประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และการเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ เป็นต้น แก่นักท่องเที่ยว ทั้งนี้ทรัพยากรการท่องเที่ยวสามารถปรากฏได้ทั้งในลักษณะของรูปธรรมที่สามารถสัมผัสได้ด้วยการจับต้อง เช่น สิ่งก่อสร้าง ของที่ระลึก ถ้ำ และน้ำตก เป็นต้น และในลักษณะของนามธรรมที่ไม่สามารถสัมผัสได้ด้วยการจับต้องแต่สามารถสัมผัสได้ด้วยทางอื่น เช่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษา ความเป็นชนเผ่า และการเล่นการแสดงพื้นบ้าน เป็นต้น รองศาสตราจารย์วรรณนา วงษ์วานิช กล่าวว่า ทรัพยากรการท่องเที่ยว หมายถึง สถานที่ท่องเที่ยวซึ่งรวมถึงสถานที่ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว กิจกรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมที่สะท้องให้เห็นถึงวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น ที่มีลักษณะเด่น ดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว
ความสำคัญของทรัพยากรการท่องเที่ยว

ทรัพยกรการท่องเที่ยวทั้งประเภทที่เป็นทรัพยากรทางธรรมชาติ โบราณสถานและศิลปวัฒนธรรมจัดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของระบบการท่องเที่ยว นอกจากบริการการท่องเที่ยวและตลาดการท่องเที่ยว ซึ่งทรัพยากรการท่องเที่ยว สามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อท้องถิ่นที่นักท่องเที่ยวเดินทางไปเยือนได้ จึงนับได้ว่าทรัพยากรการท่องเที่ยวมีความสำคัญมากต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว ดังนี้


1. 
ความสำคัญด้านจิตวิทยา ทรัพยากรการท่องเที่ยวมีความสำคัญด้านจิตวิทยา คือ
1.1 เป็นสิ่งดึงดูดใจให้มีการเดินทางท่องเที่ยว ทรัพยากรการท่องเที่ยวนับเป็นปัจจัยหลักที่นักท่องเที่ยวนำมาพิจารณาในการตัดสินใจเลือกที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวยังสถานที่นั้นหรือไม่
1.2 เป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดความสุขลดความตึงเครียด ทรัพยากรการท่องเที่ยวทั้งประเภทความสวยงามตามธรรมชาติ หรือประเภทโบราณสถาน ศิลปวัฒนธรรมสามารถใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปพักผ่อนหย่อนใจให้หายจากความเครียดจากภาระหน้าที่ประจำได้











2. ความสำคัญด้านเศรษฐกิจ ทรัพยากรการท่องเที่ยวมีความสำคัญด้านเศรษฐกิจ คือ
2.1 เป็นแหล่งที่มาของรายได้ของท้องถิ่น เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวยังสถานที่ท่องเที่ยวย่อมก่อให้เกิดการสร้างงาน อาชีพให้กับท้องถิ่นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น การผลิตสินค้าที่ระลึก จำหน่ายนักท่องเที่ยว การจัดบริการที่พักให้ลักษณะโฮมสเตย์ให้กับนักท่องเที่ยว เป็นต้น
2.2 เป็นแหล่งที่มาของรายได้ของธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เมื่อนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวใดย่อมก่อให้เกิดการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวจึงทำให้สามารถกระจายรายได้สู่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องหลายประเภท เข่น ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจที่พักแรม ธุรกิจขายของที่ระลึก ธุรกิจขนส่ง เป็นต้น
2.3 เป็นแหล่งที่มาของรายได้ภาครัฐ รัฐบาลสามารถเรียกเก็บภาษีอากรจากการค้าและภาษีเงินได้จากผู้ประกอบการที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งรัฐสามารถนำไปใช้พัฒนาประเทศ และช่วยชดเชยภาวะการขาดดุลการค้ากับต่างประเทศได้













3. ความสำคัญด้านสังคม
3.1 ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชน ประชาชนเที่อาศัยอยุ่ในบริเวณที่มีทรัจพยากรการท่องเที่ยวอุดมสมบูรณ์จะมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น เพราะสามารถใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจทำให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่สมบูรณ์แข็งแรง และยังช่วยให้มาตรฐานการครองชีพของประชาชนดีขึ้นด้วยจากการมีรายได้จากการท่องเที่ยวทำให้มีอำนาจซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภคต่างๆ ได้มากขึ้น ทั้งยังช่วยลดปัญหาอาชญากรรมในสังคมได้
3.2 ช่วยเปิดโลกทัศน์ให้กับประชาชาน เนื่องจากการเดินทางไปท่องเที่ยวในสถานที่ต่างๆ ทำให้มีโอกาสได้เรียนรู้ได้สัมผัสของจริงได้รับประสบการณ์ตรงย่อมส่งผลให้เกิดทัศนคติที่กว้างไกล เกิดความประทับใจ และช่วยเสริมสร้างให้เกิดความรักและหวงแหนในทรัพยากรการท่องเที่ยวเหล่านั้น
3.3 ช่วยสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและยอมรับของคนทั่วโลก ย่อมนำมาซึ่งความภาคภูมิใจของคนในพื้นที่ เช่น นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศมักกล่าวชมประเทศไทยเสมอว่าเป็นประเทศที่มีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สวยงาม น่าสนใจ มีความหลากหลาย น่าตื่นตาตื่นใจ ซึ่งนำความภาคภูมิใจมาสู่คนไทยทุกคน












4. ความสำคัญด้านวัฒนธรรม
4.1 แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทศิลปวัฒนธรรม ประเพณี เช่น ภาษา การแต่งกาย วิถีชีวิต การละเล่น งานเทศกาล ประเพณีต่างๆ เป็นต้น นับเป็นสื่อซึ่งแสดงออกถึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นและของประเทศชาติ
4.2 สะท้อนให้เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาบรรพชน ทรัพยากรการท่องเที่ยวจำนวนมาได้สะท้อนให้เห็นภูมิปัญญาของบรรพชนที่ล้ำลึก เป็นความรู้ที่สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำรงชีวิตของคนในรุ่นปัจจุบัน เช่น ขนบธรรมเนียมประเพณีที่แสดงถึงการมีวัฒนธรรม เช่น การไหว้ ความมีน้ำใจไมตรี ลักษณะของสถาปัตยกรรมอันประณีตงดงาม เป็นต้น


5. 
ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวเพื่อเป็นสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยว ซึ่งแตกต่างจากอุตสาหกรรมอื่นที่เน้นการนำเอาทรัพยากรขึ้นมาใช้ประโยชน์ จากประโยชน์ที่เกิดขึ้นมากมายที่ตนได้รับจากทรัพยากรการท่องเที่ยวทำให้เกิดกระแสการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยวให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมไม่เสื่อมสลาย การนำทรัพยากรไปใช้อย่างระมัดระวัง มีจิตสำนึกและมีระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ใช้ประโยชน์ต่อไป








ความสำคัญของทรัพยากรการท่องเที่ยว
ความสำคัญของทรัพยากรการท่องเที่ยว
ทรัพยากรการท่องเที่ยวมีความสำคัญมากต่อการท่องเที่ยวดังนี้
1.ความสำคัญด้านจิตวิทยา
1.1 เป็นสิ่งดึงดูดใจให้มีการเดินทางท่องเที่ยว ทรัพยากรการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยสำคัญที่นักท่องเที่ยวนำมาพิจารณาในการตัดสินใจเลือกที่จะเดินทางท่องเที่ยวยังสถานที่นั้นๆ
1.2 เป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดความสุข ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือทรัพยากรการท่องเที่ยวประเถทโบราณสถาน หรือประเภทศิลปวัฒนธรรม เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวเดินทางไปพักผ่อนหย่อนใจทำให้เกิดความสุขใจ ลดความตึงเครียด
2. ความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ
2.1 เป็นแหล่งที่มาของรายได้ท้องถิ่น เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆย่อมก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับท้องถิ่น เช่น การผลิตสินค้าที่ระลึก การจัดบริการทางด้านที่พัก
2.2 เป็นแหล่งที่มาของรายได้ของธุรกิจที่เกี่ยวข้อง นักท่องเที่ยวเดินทางไปยังสถานที่ใด ย่อมเกิดการพัฒนาสื่งอำนวยความสะดวกและการบริการในรูปแบบต่างๆ เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวจึงเกิดการกระจายรายได้สู่ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่นธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจที่พักแรม ขายสินค้าที่ระลึก ธุรกิจขนส่ง
2.3 เป็นแหล่งที่มาของายได้ภาครัฐ รัฐเรียกเก็บภาษีอากรจากร้านค้าต่างๆและภาษีเงินได้จากผู้ประกอบการ
ซึ่งภาษีดังกล่าวรัฐสามารถนำมาพัฒนาประเทศ และชดเชยภาวะการขาดดุลการค้ากับต่างประเทศ
3.
ความสำคัญด้านสังคม
3.1 ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณที่มีทรัพยากรการท่องเที่ยวจะทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เพราะใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจทำให้มีสุขภาพจิตและกายดีแข็งแรงสมบูรณ์ และช่วยให้มาตราฐานการครองชีพของประชาชนดีขึ้นจากการมีรายได้ ทั้งยังช่วยลดปัญหาอาชญากรรมด้วย
3.2 ช่วยเปิดโลกทัศน์ให้กับประชาชน การเดินทางไปท่องเที่ยวยังสถานที่ต่างๆทำให้มีโอกาสเรียนรู้ ได้สัมผัส ได้รับประสบการณ์ตรง เกิดความประทับใจและเกิดการหวงแหนทรัพยากรทางการท่องเที่ยวด้วย
3.3 ช่วยสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ทรัพยากรที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกย่อมนำมาซึ่งความภาคภูมิใจของคนในพื้นที่ Read More


 ทรัพยากรการท่องเที่ยว
ทรัพยากรการท่องเที่ยวนับเป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวที่มีความสำคัญอย่างมาก หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเลยทีเดียว  หากไม่มีสินค้าทางการท่องเที่ยว  หรือสินค้าทางการท่องเที่ยวไม่ดี  ไม่มีคุณภาพ  หรือไม่งดงามสมบูรณ์  ธุรกิจการเดินทางท่องเที่ยวก็คงจะไม่เกิดขึ้น  หรือไม่มีการเติบโตเช่นในทุกวันนี้
   ความหมายของทรัพยากรท่องเที่ยว
    คำว่าทรัพยากรอาจให้ความหมายได้ว่า สิ่งที่มนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยไม่จำกัดเฉพาะสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ  สำหรับคำว่า  ทรัพยากรการท่อง (Tourism Resource)”  หรือ  “ทรัพยากรนันทนาการ  (Recreation  Resource)”  นั้น  หมายถึง  สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น  และหลักฐานทางทางโบราณคดีหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตในยุคต่างๆ  ซึ่งมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและประกอบกิจกรรมนันทนาการ  อันนำมาซึ่งความพึงพอใจและความสุขในรูปแบบต่างๆได้

  ความสำคัญของทรัพยากรท่องเที่ยว
ทรัพยากรการท่องเที่ยว  (tourism  resource)  เป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบการท่องเที่ยวนอกเหนือไปจากบริการการท่องเที่ยว  (tourism  service)  และตลาดการท่องเที่ยว  (tourism  market)  ดังภาพ องค์ประกอบเหล่านี้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน  และแต่ละองค์ประกอบก็มีองค์ประกอบย่อยๆอีกมากมาย  ความแตกต่างในองค์ประกอบย่อยและความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันระหว่างองค์ประกอบเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดความแตกต่างในรูปแบบของการท่องเที่ยว
    การที่ทรัพยากรการท่องเที่ยวสามารถดึงดูดใจนักท่องเที่ยวให้เดินทางยังสถานที่  ตำบล  เมือง  ภาค  รัฐ  หรือประเทศต่างๆ  ทำให้ท้องถิ่นที่มีผู้เดินทางไปท่องเที่ยวได้รับผลกระทบทางบวกหลายประการนั้น  นับได้ว่าทรัพยากรการท่องเที่ยวมีความสำคัญมากต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว  โดยอาจสรุปได้ดังนี้









1เป็นสิ่งดึงดูดใจให้มีการเดินทางท่องเทื่ยว
ทรัพยากรการท่องเที่ยวนับเป็นสิ่งดึงดูดใจที่สำคัญมาก  เพราะเป็นปัจจัยหลักที่นักท่องเที่ยวนำมาพิจารณาในการตัดสินใจเลือกหรือไม่เลือกที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวยังสถานที่  ตำบล  เมือง  ภาค  รัฐ  หรือปร
 2.  เป็นที่มาของรายได้
เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวยังสถานที่  ตำบล เมือง  ภาค  รัฐ  หรือประเทศนั้น  คนในพื้นที่นั้นๆก็จะมีอาชีพและมีรายได้จากการจัดธุรกิจและบริการให้แก่นักท่องเที่ยว  รัฐบาลเองก็สามารถเก็บภาษีอากรจากการค้าและภาษีเงินได้  ท้ายสุดเงินจำนวนนี้นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยรวม  เพราะรัฐบาลนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศแล้ว  ยังเป็นเงินส่วนที่นำไปช่วยชดเชยภาวการณ์ขาดดุลการค้ากับต่างประเทศอีกด้วย

    
3.  ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตและทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีทรัพยากรการท่องเที่ยวอุดมสมบูรณ์จะมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น  เพราะสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในท้องถิ่นของตน  ช่วยให้ประชาชนสามารถผ่อนคลายจากภาวะจำเจ  ตึงเครียดจากการประกอบการงาน  ทำให้สามารถประกอบกิจกรรมนันทนาการได้  ส่งผลให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่สมบูรณ์  เป็นประชากรที่มีคุณภาพ  ที่สำคัญคือการที่ผู้คนมีอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว  ย่อมมีรายได้  และสามารถซื้อหาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการต่างๆให้กับตนเองได้  ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและทำให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้นไปด้วยนอกจากนี้ทรัพยากรการท่องเที่ยวในท้องถิ่นยังมีส่วนช่วยเปิดโลกทัศน์ให้กับประชาชนด้วย เพราะสถานที่ท่องเที่ยวเปรียบได้กับห้องปฏิบัติการที่ผู้คน  โดยเฉพาะเยาวชน  สามารถเรียนรู้ได้จากของจริง  เช่น  เด็กนักเรียนที่เรียนรู้เกี่ยวกับพืชและสัตว์ในห้องเรียน  หากได้มีโอกาสไปสัมผัสผืนป่า  ได้เรียนรู้จากของจริง  ได้เห็นต้นไม้และสัตว์ชนิดต่างๆในป่าจริงๆ  นอกจากจะทำให้เข้าใจในเรื่องพืชและสัตว์ได้ดียิ่งขึ้นแล้ว  ยังอาจจะเสริมสร้างให้เยาวชนเกิดความรักและความหวงแหนทรัพยากรการท่องเที่ยวเหล่านั้นด้วย
 4.  สร้างความภาคภูมิใจให้แก่ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่  ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและยอมรับของคนทั่วโลก  ย่อมจะนำมาซึ่งความภาคภูมิใจของคนในพื้นที่  เช่น  ประเทศไทยมักได้รับคำชมจากชาวต่างประเทศเสมอว่าเป็นประเทศที่มีทรัพยากรการท่องเที่ยวสวยงาม  น่าสนใจ  หลากหลาย  ซึ่งนำความภาคภูมิใจมาสู่คนไทยทุกคน
    5.  สะท้อนให้เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาบรรพชน  ทรัพยากรการท่องเที่ยวจำนวนมากได้สะท้อนให้เห็นภูมิปัญญาของบรรพชนที่ล้ำลึก  เป็นความรู้ที่สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำรงชีวิตของคนในรุ่นปัจจุบัน  เช่น  ขนบธรรมเนียมประเพณีที่แสดงถึงการมีวัฒนธรรม  สถาปัตยกรรมอันประณีตงดงาม  เป็นต้น

6.  ก่อให้เกิดการอนุรักษ์และพัฒนา  
ประโยชน์มากมายที่ผู้คนได้รับจากทรัพยากรการท่องเที่ยว  ทำให้เกิดการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยวให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม  ไม่สูญหายไป  หากมีการนำไปใช้  ก็จะมีการจัดการและใช้อย่างระมัดระวัง  มีการบริโภคทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างมีจิตสำนึก  โดยคำนึงถึงอนุชนคนรุ่นต่อๆไปด้วย



  • ประเภทของทรัพยากรการท่องเที่ยว
การจำแนกประเภทของทรัพยากรการท่องเที่ยวสามารถทำได้ใน 2 ลักษณะ  คือ จำแนกตามลักษณะของทรัพยากรการท่องเที่ยว  และจำแนกตามพื้นที่และลักษณะของทรัพยากร  ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. การจำแนกประเภทตามลักษณะของทรัพยากรการท่องเที่ยว  สามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภท  ดังนี้
1.1  ทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ  (natural  tourism  resources)  หมายถึง  ทรัพยากรทั้งทางด้านชีวภาพและกายภาพ  ได้แก่  พื้นที่ป่า  สัตว์ป่า น้ำตก  ถ้ำ ชายหาด  เกาะ  แก่ง  และปะการัง  เป็นต้น  ทรัพยากรการท่องเที่ยวเหล่านี้มีความงดงามโดเด่น  เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อการพักผ่อนหย่อนใจ  และการศึกษาธรรมชาติ

1.2  ทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทประวัติศาสตร์  
โบราณสถาน  และโบราณวัตถุ  
(Archeological  and  Historical  resources) หมายถึง  พื้นที่  หลักฐาน  และร่องรอยทางกายภาพที่เหลืออยู่  ซึ่งอาจบ่งบอกถึงสภาพความเป็นมาและพัฒนาการของสิ่งมีชีวิตทั้งในยุคก่อนประวัติศาสตร์  และยุคประวัติศาสตร์  ทั้งนี้รวมถึงวัตถุต่างๆที่มนุษย์สร้างหรือประดิษฐ์ขึ้นด้วย  ตัวอย่างของทรัพยากรการท่องเที่ยวในกลุ่มนี้  ได้แก่  อุทยานประวัติศาสตร์ในจังหวัดสุโขทัย  พระพุทธรูป  และเครื่องปั้นดินเผา  เป็นต้น

   1.3  ทรัพยากรการ่องเที่ยวประเภทศิลปวัฒนธรรม 
 ประเพณี  และกิจกรรม  รวมถึงสิ่งที่ตกทอดตามประเพณีโบราณมาสู่ชนรุ่นหลัง  มีอาทิ  ศิลปะการแสดง  การแต่งกายแบบโบราณ  ภาษาพื้นเมือง  ความเชื่อเรื่องวิญญาณ กิจกรรมการยังชีพแบบดั้งเดิมของชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งใดแห่งหนึ่ง  และมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน  ทั้งนี้  ยังรวมถึงสิ่งดึงดูดใจที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อการท่องเที่ยว  เช่น  สวนสนุก  หรือพิพิธภัณฑ์  เป็นต้น  และสิ่งดึงดูดใจที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยวัตถุประสงค์ดั้งเดิมที่สร้างขึ้นนั้นอาจไม่ใช่เพื่อการท่องเที่ยว  แต่เป็นที่ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้  เช่น  เขื่อน  โรงงานผลิตเบียร์  โรงงานเครื่องปั้นดินเผา  สวนองุ่น  และหมู่บ้านของชาวนาชาวไร่  เป็นต้น

2.การจำแนกตามพื้นที่และลักษณะของทรัพยากร
พื้นที่ในที่นี้ หมายถึง  ที่ตั้งของทรัพยากรนั้นๆ  และ  ลักษณะ” หมายถึงลักษณะที่เป็นธรรมชาติ  หรือมนุษย์สร้างขึ้น  เมื่อพิจารณาเกณฑ์ทั้ง 2 นี้  ประกอบกัน  สามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภท  ดังนี้

 2.1  ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่เน้นผู้ใช้ประโยชน์  (user-oriented  areas)  
ทรัพยากรการท่องเที่ยวในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ใกล้ชุมชน  การเข้าถึง  
(accessibility)  เพื่อประกอบกิจกรรมท่องเที่ยวจึงกระทำได้สะดวก  เพราะมีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆขึ้นมารองรับกิจกรรมการใช้ประโยชน์  และสนองความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มรูปแบบ  แต่ส่วนใหญ่แล้วจะสร้างขึ้นเพื่อรองรับกิจกรรมเฉพาะอย่าง  เช่น  สวนสาธารณะในเขตเมือง  สนามเด็กเล่น  สนามกีฬา  และสวนสนุก  เป็นต้น

  
2.2 ทรัพยากรการท่องเที่ยวกึ่งธรรมชาติ  (intermediate  areas)มักตั้งอยู่ห่างไกล
จากชุมชนมากกว่าประเภทแรก  แต่มีการพัฒนาเส้นทางคมนาคมที่เปิดโอกาสให้เดินทางเข้าถึงได้สะดวก  ตัวอย่างทรัพยากรการท่องเที่ยวในกลุ่มนี้ที  อาทิ  รีสอร์ท อุทยาน  และวนอุทยาน

2.3  ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่เน้นธรรมชาติ  (resource-based  areas)  
ทรัพยากรการท่องเที่ยวในกลุ่มนี้จะมี
ลักษณะเด่นแตกต่างจากทรัพยากรในสองกลุ่มข้างต้นตรงที่มีความเป็นธรรมชาติดั้งเดิมมากกว่า  และนักท่องเที่ยวมีโอกาสที่จะประกอบกิจกรรมนันทนาการที่หลากหลายมากกว่า  เช่น  การดูนก  (bird  watching)  และการเดินป่า  (trekking)  ความหลากหลายในการประกอบกิจกรรมนี้จะขึ้นอยู่กับทรัพยากรพื้นฐานว่าเป็นลักษณะใด  หากทรัพยากรพื้นฐานเป็นพื้นที่ชายทะเล  ก็เหมาะสมสำหรับกิจกรรมเล่นน้ำ  ว่านน้ำ  อาบแดด  หรือดำน้ำ  เป็นต้น  หากเป็นพื้นที่ป่า  ก็เหมาะกับกิจกรรมเดินป่า/ศึกษาธรรมชาติ หรือกิจกรรมพักค้างแรมโดยการใช้เต็นท์  เป็นต้น  อย่างไรก็ดีทรัพยากรการท่องเที่ยวแบบเน้นธรรมชาตินี้ส่วนใหญ่จะอยู่ห่างไกลจากเขตชุมชน  และบางแห่งการเดินทางเข้าถึงยังไม่สะดวกเท่าที่ควร
คุณลักษณะของทรัพยากรการท่องเที่ยว
คุณลักษณะของทรัพยากรการท่องเที่ยว  (tourism  resource  attributes)  มีหลากหลายและแตกต่างกันไปตามสภาพทางภูมิศาสตร์โลกหรือสถานที่ตั้ง  โดยอาจใช้เกณฑ์ (criteria)  10  ประการ  ในการกำหนดดังนี้
   1.  กรรมสิทธิ์/การถือครอง  (ownership) กรรมสิทธิ์/การถือครองทรัพยากรการท่องเที่ยวนั้นๆ  นับเป็นคุณลักษระหนึ่งที่สำคัญซึ่งจะต้องคำนึงถึงในการจัดการและการวางแผน กล่าวคือ  หากเป็นกรรมสิทธิ์/การถือครองโดยรัฐ  (public  ownership)  เช่น  อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และดอยอินทนนท์ในประเทศไทย      และอุทยานแห่งชาติลามิงตัน  (Lamington  National  Park)  ที่โกลด์โคสต์  (Gold  Coast)  ประเทศออสเตรเลีย  รัฐต้องเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณในการจัดการและวางแผน  หรืออีกนัยหนึ่ง  รัฐมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจหรือกำหนดนโยบาย  ซึ่งมักคำนึงถึงผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก  มากกว่าที่จะเห็นความสำคัญกับเรื่องผลกำไรหรือผลตอบแทนที่จะได้รับจากพื้นที่ดังกล่าว  การวางแผนจึงเน้นระยะยาวมากกว่าที่จะเป็นการมองการณ์หรือหวังผลในระยะสั้นๆ 

2.  ทิศทางการดำเนินการ  (orientation) ความมุ่งหวังจากการดำเนินการโดยส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวพันกับเรื่องของผลตอบแทน  หากทรัพยากรการท่องเที่ยวเป็นอุทยานแห่งชาติ  การดำเนินการอาจเป็นในลักษณะการจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการเข้ามาใช้พื้นที่  (user  fees)  เพื่อนำค่าธรรมเนียมที่ได้รับใช้ในการดูแลรักษา  (maintenance)  หรือการให้สัมปทานเอกชนเข้าไปดำเนินการ  (private  concession)  เช่น  นครวัดในประเทศกัมพูชา  หรือเขาเขียวในประเทศไทย  เป็นต้น

  3.  ลักษณะพื้นที่ท่องเที่ยว  (special  configuration)
 ลักษณะทางภูมิศาสตร์และขนาดของพื้นที่นับว่ามีความสำคัญอย่างมาก  ซึ่งมีทั้งที่เป็นพื้นที่กว้าง  เช่น  อุทยานหรือวนอุทยาน  เป็นต้น  หากเป็นพื้นที่ลักษณะนี้  อาจมีการจัดแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ  และมีการกำหนดจุดท่องเที่ยวที่ชัดเจน  ทั้งนี้เพื่อความมีประสิทธิภาพในการควบคุมดูแลและจัดการ  อย่างไรก็ดีมีบางแห่งที่ถูกกำหนดให้เป็นจุดท่องเที่ยวเฉพาะ  เช่น  ดิสนีย์แลนด์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส  ดรีมเวิล์ดที่ประเทศไทย  สิงคโปร์  และฮ่องกง  และโอเชี่ยนเวิล์ดที่ประเทศออสเตรเลีย  เป็นต้น

4.  ลักษณะความเป็นของแท้/ดั้งเดิม  (authencity) “ลักษณะความเป็นของแท้”  ยังคงเป็นประเด็นที่เคลือบแคลง  กำกวม  และมีการโต้แย้งกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในการพิจารณาว่าเป็นของแท้หรือของเลียนแบบ  ตัวอย่างเช่น  ภาพวาดสมัยหินที่ลาสโคว์  (Lascaux)  บริเวณใกล้ถ้ำแห่งหนึ่งในประเทศฝรั่งเศส  ซึ่งถูกจำลองขึ้นเกือบเหมือนจริงเพื่อให้นักท่องเที่ยวชมได้สะดวกมากขึ้นนั้น  ก็ทำให้นักท่องเที่ยวมีความกังขา  และหวั่นกลัวความเหมือนจริงนี้เป็นอย่างมาก  การจำลองภาพวาดในกรณีนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตีความและการชี้แจง/ให้เหตุผล  หากนักท่องเที่ยวได้รับการชี้แจ้งเหตุผลว่า  การจำลองภาพวาดดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์และปกป้องภาพวาดดั้งเดิม  (original  painting)  นักท่องเที่ยวก็จะเห็นว่าการสร้างหรือการลอกเลียนแบบเป็นสิ่งที่ดี

   
5.  ความหายากในโลก/ภูมิภาค/ประเทศ  (scarcity:  international/  regional/  national)ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีอยู่เพียงหนึ่งเดียว  หรือมีจำนวนน้อย หายาก  ไม่ซ้ำกับใครที่ไหน  จะสามารถดึงดูดใจนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาเยี่ยมเยือนได้เป็นอย่างมาก  เช่น  ทะเลสาบเดดซี  ซึ่งเป็นทะเลสาบที่มีน้ำเค็มที่สุดในโลก (Dead  Sea  Lake)  อยู่ทางทิศตะวันออกของปาเลสไตน์  บึงบอระเพ็ด  ซึ่งเป็นบึงน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย  เหนือสุดแดนสยาม  สามเหลี่ยมทองคำ  ผาแต้ม ภูกระดึง”  ในประเทศไทย  และอ่าวซิดนีย์ในประเทศออสเตรเลีย  หรือเส้นแวง  (Longitude)  ที่ 0 องศา  ซึ่งใช้เป็นมาตรฐานในการนับเวลาของโลก  เมืองกรีนนิชในอังกฤษ เป็นต้น  อย่างไรก็ดีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่เป็นสิ่งพิเศษ/มีเพียงหนึ่งเดียวบางอย่างจะมีความเสี่ยงต่อการสูญสลายหรือถูกทำลายได้ง่ายมากกว่าสิ่งที่มีอยู่ทั่วไปอย่างดาษดื่น

6.  สถานภาพ  (status) ทรัพยากรการท่องเที่ยวหลัก 
 (primary  tourism  resources) 
นับเป็นปัจจัยมีความสำคัญเป็นอันดับ
แรกที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาเยี่ยมเยือน  เช่น  ปิรามิดของประเทศอียิปต์  น้ำตกไนแอการาในประเทศสหรัฐอเมริกา-แคนาดา  และพระบรมมหาราชวังของประเทศไทย  เป็นต้น  ทรัพยากรการท่องเที่ยวซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ดึงดุดใจนักท่องเที่ยวอาจจะมีมากกว่าหนึ่งแห่ง  เช่น  ในปารีส  มีทั้งหอไอเฟลและพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ซึ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยวต้องไปเยี่ยมชมทั้งสองแห่ง  ในซิดนีย์ซึ่งมีทั้งโอเปร่าเฮาส์และอ่าวซิดนีย์  เป็นต้น  ความสามรถในการดึงดูดใจนักท่องเที่ยวของทรัพยากรการท่องเที่ยวหลักนับเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้รัฐบาล  หน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ  และผู้เกี่ยวข้องพิจารณาให้ความสำคัญกับทรัพยากรการท่องเที่ยวหลักเป็นอันดับแรก  เมื่อเทียบกับกลุ่มทรัพยากรการท่องเที่ยวอันดับรอง  (secondary  tourism  resources)  มักจะเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจถัดไป  หลังจากที่เดินทางไปเยี่ยมเยือนทรัพยากรการท่องเที่ยวหลักแล้ว
7.  ความสามรถในการรองรับ  (carrying  capacity) 
ทรัพยากรการท่องเที่ยวแต่ละประเภทอาจมีความสามารถในการรองรับในแต่ละด้านและในแต่ละช่วงเวลา  (particular  point  of  time)  แตกต่างกันไป  กล่าวคือ ทรัพยากรการท่องเที่ยวบางประเภทอาจมีความสามารถในการรองรับในแง่ของการบริการด้านการท่องเที่ยวในระดับต่ำ  เช่น  ไม่มีศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร  และไม่มีม้านั่ง เป็นต้น  แต่ทรัพยากรการท่องเที่ยวเหล่านี้อาจมีความสามรถในการรองรับในแง่ของการจัดการ  คือป้องกันนักท่องเที่ยวมิให้เข้าไปเหยียบย่ำหรือทำลายทรัพยากรล้ำค่าในบริเวณนั้นได้เป็นอย่างดี  โดยมีรั้วรอบขอบชิดและมีระบบการกำจัดขยะที่เหมาะสม  เป็นต้น

8.  ความสะดวกในการเดินทางเข้าถึง  (accessibility) ความสะดวกในการเดินทางเข้าถึงทรัพยากรการท่องเที่ยวมักเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการคมนาคมขนส่ง  และการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวในการเดินทางเข้าไปเยี่ยมชมและ/ประกอบกิจกรรมท่องเที่ยวณ  พื้นที่  สถานที่  หรือจุดท่องเที่ยว  เช่น  การมีถนนเพียงเส้นเดียวที่ใช้เพื่อเดินทางไปยังจุดท่องเที่ยวนั้นๆ  หรือการที่ต้องเข้าแถวยาวเหยียดเพื่อเข้าประกอบกิจกรรมในสวนสนุกแห่งใดแห่งหนึ่ง  ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวต้องเสียเวลารอนานเกินไป ซึ่งแสดงว่าการเข้าถึงยังไม่สะดวก  เป็นต้น

    9.  ตลาด  (market) ทรัพยากรการท่องเที่ยวบางแห่งนักท่องเที่ยวโดยทั่วไปอาจสนใจเดินทางไปเยี่ยมเยือน และ/หรือประกอบกิจกรรมท่องเที่ยว  แต่ทรัพยากรการท่องเที่ยวบางแห่งอาจมีนักท่องเที่ยวเพียงบางกลุ่มเท่านั้นที่สนใจ  เช่น  ทรัพยากรการท่องเที่ยวกลุ่มโบราณคดีในประเทศเคนยา  เป็นต้น  แม้ทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทนี้จะสามารถดึงดูดความสนใจได้มากกว่า  เป็นต้น  นอกจากนี้ทรัพยากรการท่องเที่ยวบางกลุ่มอาจจะเหมาะและต้องรสนิยมของคนท้องถิ่นหรือคนในประเทศเท่านั้น  แต่บางกลุ่มอาจจะเหมาะและต้องรสนิยมของนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วย  เช่น  อาหารไทย  เป็นต้น

10.  ภาพลักษณ์  (image) ภาพลักษณ์ที่นักท่องเที่ยวมีต่อทรัพยากรการท่องเที่ยว  ล้วนมีผลอย่างมากที่จะทำให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจเลือก  หรือไม่เลือกที่จะบริโภคทรัพยากรการท่องเที่ยวนั้น  ทั้งนี้รวมถึงภาพลักษณ์ที่นักท่องเที่ยวมีต่อเจ้าของทรัพยากรการท่องเที่ยวนั้นๆด้วย  ซึ่งอาจจะเป็นประเทศ  เมือง  หรือพื้นที่ก็ได้  เช่น  นักท่องเที่ยวที่เป็นกลุ่มสตรี  อาจมีภาพลักษณ์ว่า  สิงคโปร์เป็นแหล่งช้อปปิ้ง”  ฉะนั้นจึงตัดสินใจเลือกเดินทางไปสิงคโปร์แทนที่จะเลือกไปกัมพูชา  หรืออาจมีภาพลักษณ์ต่อประเทศอินโดนีเซียว่า  เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ปลอดภัย”  ก็อาจตัดสินใจไม่เดินทางไปประเทศอินโดนีเซีย  แต่จะเลือกเดินทางมาประเทศไทยแทน  เป็นต้น  ภาพลักษณ์จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมากต่อการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ตัดสินใจเลือกหรือไม่เลือกเดินทางท่องเที่ยว  (one  of  the  major  pull  factors)  ดังนั้นการตรวจสอบภาพลักษณ์ของทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ  จึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมากเช่นเดียวกัน

  
    ประเทศไทยมีทรัพยากรการท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากและมีความหลากหลายน่าสนใจ ทั้งนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน  คือ  1)  ส่วนที่เป็นธรรมชาติ  และ  2)  ส่วนที่มนุษย์สร้างขึ้นและหลักฐานทางโบราณคดี  ซึ่งรวมถึงร่องรอยของสิ่งมีชีวิตในยุคต่างๆ  ดังนี้
1.  ทรัพยากรการท่องเที่ยวในส่วนที่เป็นธรรมชาติของประเทศไทย
    ทรัพยากรการท่องเที่ยวในส่วนที่เป็นธรรมชาติของประเทศไทย  อาจจำแนกออกเป็น 6 ประเภท  ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ในความดูแลของกรมป่าไม้  ได้แก่

   1.1  อุยานแห่งชาติ  (national  park)  เป็นพื้นที่ที่ได้รับการประกาศให้เป็นแหล่งสงวนและคุ้มครองสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ  เพื่อการใช้ประโยชน์ด้านการค้นคว้า  วิจัย  นันทนาการ  และการท่องเที่ยว  (คณะวนศาสตร์,  2530)  โดยกรมป่าไม้ประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติในประเทศไปแล้วทั้งสิ้น 81 แห่ง  เป็นอุทยานแห่งชาติทางบก 63 แห่ง  และเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเล 18 แห่ง  ส่วนพื้นที่ที่อยู่ระหว่างการเตรียมการประกาศจัดตั้งมีไม่น้อยกว่า 40 แห่ง  อุทยานแห่งชาติทางบก  มีอาทิ  เขาใหญ่  ภูกระดึง  ภูหลวง  และแม่วงก์  สำหรับอุทยานแห่งชาติทางทะเล  มีอาทิ  หมู่เกาะสุรินทร์  หมู่เกาะอ่างทอง  และอ่าวพังงา

1.2  วนอุทยาน  (forest  park)  เป็นพื้นที่นันทนาการที่มีขนาดเล็กและมีความโดดเด่นน้อยกว่าอุทยานแห่งชาติ  หากแต่ยังคงมีความสำคัญในแง่ของการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประชาชนในท้องถิ่น  ปัจจุบันประเทศไทยมีวนอุทยานในประเทศไทยทั้งสิ้น 46 แห่ง  กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ  วนอุทยานทั้งหมดอยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้ โดยบางส่วนอยู่ในสังกัดของสำนักงานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  และบางส่วนอยู่ภายใต้การดูแลของกรมป่าไม้เขต  วนอุทยานที่น่าสนใจ  มีอาทิ วนอุทยานน้ำตกโตนไทร  จ. ภูเก็ต

    1.3 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า  (wildlife  sanctuary)  
ตามพระราชบัญญัติ  คือ  พื้นที่ซึ่งถูกกำหนดให้สงวนและรักษาไว้ให้ปลอดจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ที่อาจรบกวนถิ่นที่อยู่อาศัยและการดำรงชีวิตของสัตว์ป่า  รวมทั้งกิจกรรมนันทนาการต่างๆด้วย  แต่เนื่องจากพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหลายแห่งมีองค์ประกอบของทรัพยากรธรรมชาติที่มีความโดดเด่นและมีคุณค่าทางด้านนันทนาการสูง  กรมป่าไม้ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ  จึงอนุโลมให้ประชาชนเข้าไปพักผ่อนหาความรู้ในพื้นที่ได้  แต่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง  ปัจจุบันประเทศไทยมีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทั้งสิ้น 37 แห่ง  เช่น  ห้วยขาแข้ง  เป็นต้น

1.4  เขตห้ามล่าสัตว์ป่า  (non-hunting  area)  เป็นพื้นที่ที่รัฐบาลประกาศขึ้นเพื่อคุ้มครองสัตว์ป่าบางชนิดที่กำหนด แต่ไม่หวงห้ามการใช้พื้นที่เพื่อกิจกรรมอื่นๆ (คณะวนศาสตร์,  2530)  ปัจจุบันกรมป่าไม้ประกาศห้ามล่าสัตว์ไปแล้ว 49 แห่ง

 1.5  สวนพฤกษศาสตร์  (botanical  garden)  เป็นสถานที่ที่มีการจัดรวบรวมพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆที่มีคุณค่ามาปลูกไว้เป็นลำดับตามหมวดหมู่และตระกูล  เพื่อการศึกษาวิจัยและเผยแพร่ขยายพันธุ์ให้แก่ประชาชน  โดยปกติมักมีการจัดตกแต่งพื้นที่เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนควบคู่ไปด้วย  สวนพฤกษศาสตร์จึงจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอีกประเภทหนึ่งของประเทศ  ปัจจุบันกรมป่าไม้จัดให้มีสวนพฤกษศาสตร์ทั้งสิ้น 13 แห่ง  ซึ่งกระจายอยู่ทั่วทุกภาค  เช่น  สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  จ. เชียงใหม่  เป็นต้น

   1.6  สวนรุกขชาติ  (aboretum)  
ไทยเป็นประเทศหนึ่งในโลกที่อุดมไปด้วยทรัพยากรการท่องเที่ยวในลักษณะนี้  แต่ทรัพยากรการท่องเที่ยวในส่วนที่มนุษย์สร้างขึ้นรวมถึงร่องรอยของสิ่งมีชีวิตในยุคต่างๆนี้ ไม่ได้หมายถึงสิ่งซึ่งเกิดจากน้ำมือของมนุษย์แบบปัจจุบันเท่านั้น  แต่ยังครอบคลุมไปถึงร่องรอยและสิ่งซึ่งเกิดจากมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ด้วย  หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ รวมถึงร่องรอยและหลักฐานทางโบราณคดีทั้งในยุคก่อนประวัติศาสตร์และยุคประวัติศาสตร์  ทรัพยากรการท่องเที่ยวนี้มีทั้งที่เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์โบราณ  ชุมชนโบราณ ศาสนสถาน  โบราณวัตถุ  โบราณสถาน  กำแพงเมือง  คูเมือง  เหมืองแร่  ศิลปวัฒนธรรม  งานประเพณี  วิถีชีวิต/ความเป็นอยู่  (เช่น  หมู่บ้านชาวเขา  สภาพชีวิตในชนบท) ศูนย์วัฒนธรรม  สินค้าและหัตถกรรมพื้นเมือง  เป็นต้น  บางส่วนอยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร  บางส่วนกระจายอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์และอยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้และหน่วยงานอื่นๆของรัฐ













วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ความรู้พื้นฐานการเขียนโปรแกรม

                เนื้อหาในบทนี้จะกล่าวถึงขั้นตอนวิธีการทางคอมพิวเตอร์ (computer  algorithms)  เพื่อเป็นการให้ความรู้พื้นฐานก่อนการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์  รวมถึงเนื้อหาเกี่ยวกับโครงสร้างภายในโปรแกรมซึ่งจะประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะของโปรแกรมแบบโครงสร้าง  และรูปแบบโครงสร้างภายในโปรแกรม  เพื่อช่วยให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเลือกใช้คำสั่งให้สอดคล้องกับโครงสร้างภายในโปรแกรมได้  ซึ่งรายละเอียดของแต่ละเนื้อหามีดังต่อไปนี้1.1 ขั้นตอนวิธีการทางคอมพิวเตอร์  (computer  algorithm )
ก่อนที่เราจะเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่งเพื่อแก้ปัญหาทางคอมพิวเตอร์  เราควรศึกษาขั้นตอนวิธีการทางคอมพิวเตอร์   เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตามขั้นตอนวิธีดังนี้
            1) การวิเคราะห์งาน  (job analysis)
            2) การเขียนผังงานโปรแกรม  (program flowcharting)
            3) การเขียนโปรแกรม  (programming)
            4) การทดสอบ  และแก้ไขโปรแกรม  (testing and editing program)
            5) การจัดทำเอกสารประกอบ  และการบำรุงรักษาโปรแกรม  (documentation and maintenance program)
            1.1.1 การวิเคราะห์งาน  (job  analysis)                        ในการวิเคราะห์งานเราจะต้องกำหนดจุดประสงค์ของการวิเคราะห์งาน  และขั้นตอนวิธีการวิเคราะห์งานแต่ละอย่างให้ได้  ซึ่งงานแต่ละอย่างมีรายละเอียดดังนี้
                        1.1.1.1  จุดประสงค์ของการวิเคราะห์งาน
                                    ในการวิเคราะห์งานแต่ละอย่างมีจุดประสงค์ของการวิเคราะห์งานที่สำคัญดังนี้
                                    1. เพื่อหาวัตถุประสงค์ของการเขียนโปรแกรม
                                    2. เพื่อหารูปแบบผลลัพธ์ที่ต้องการ
                                    3. เพื่อหาข้อมูลนำเข้าที่ต้องใส่เข้าไปในโปรแกรม
                                    4. เพื่อหาตัวแปรที่จำเป็นต้องใช้ในโปรแกรม
                                    5. เพื่อหาขั้นตอนวิธีการทำงานของโปรแกรม
                        1.1.1.2 ขั้นตอนวิธีการวิเคราะห์งาน
                                    ในการวิเคราะห์งานแต่ละอย่างมีขั้นตอนวิธีการวิเคราะห์งานที่สำคัญดังนี้
                       1) การหาวัตถุประสงค์ของการเขียนโปรแกรม
ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องหาวัตถุประสงค์จากงานที่จะเขียนโปรแกรมว่า ต้องการเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาอะไรบ้างซึ่งจะทำให้เขียนโปรแกรมได้ตรงกับความต้องการหรือวัตถุประสงค์ของงานนั้น ๆ    
                       2) การหารูปแบบผลลัพธ์ที่ต้องการ
เมื่อผู้เขียนโปรแกรมหาวัตถุประสงค์ของการเขียนโปรแกรมได้แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการกำหนดรูปแบบผลลัพธ์ที่ต้องการจากโปรแกรม  ซึ่งรูปแบบผลลัพธ์อาจอยู่ในลักษณะของข้อความหรือตัวเลข  หรือตาราง   หรือแผนภูมิ   หรืออาจใช้ผสมกันระหว่างตัวเลขกับข้อความ หรือข้อความกับตัวเลข  และตารางก็ได้   ขึ้นอยู่กับผู้เขียนโปรแกรมเป็นผู้กำหนดเอง    แต่โดยส่วนมากนิยมแสดงผลลัพธ์ของโปรแกรมให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายมากกว่ารูปแบบที่ซับซ้อน
                       3) การหาข้อมูลนำเข้าที่ต้องใส่เข้าไปในโปรแกรม
ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องหาข้อมูลนำเข้าจากผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม โดยคำนึงถึงขั้นตอนวิธีการคำนวณ และข้อมูลที่จำเป็นต้องใส่เข้าไปเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
            ตัวอย่างที่  1.1  ผลลัพธ์ที่ต้องการ  คือ  พื้นที่สามเหลี่ยมมุมฉากข้อมูลนำเข้าที่ต้องใส่เข้าไปในโปรแกรมคือ 
                        1) สูตรคำนวณพื้นที่สามเหลี่ยมมุมฉาก
                                    พื้นที่สามเหลี่ยมมุมฉาก  =  ? x ฐาน x สูง
                        2) ความยาวของฐานและความสูงของรูปสามเหลี่ยม
                       4) การหาตัวแปรที่จำเป็นต้องใช้ในโปรแกรม
ตัวแปร  หมายถึง  ชื่อที่ผู้เขียนโปรแกรมสามารถตั้งขึ้นเองตามหลักการตั้งชื่อตัวแปรของภาษาคอมพิวเตอร์ที่นำมาเขียนโปรแกรม (หลักเกณฑ์การตั้งชื่อตัวแปรกล่าวไว้ในหัวข้อ 2.5.3.1)  เพื่อใช้ในการอ้างอิงการเก็บข้อมูลและเรียกใช้ข้อมูลภายในตัวแปร   ดังนั้นผู้เขียนโปรแกรมจะต้องตั้งชื่อตัวแปรที่ใช้ในการเก็บข้อมูลทั้งหมดภายในโปรแกรม   รวมถึงตัวแปรบางตัวที่ใช้ในการนับจำนวนรอบของการทำงานในโปรแกรมอีกด้วย
 


                        1.1.3.2 ภาษาคอมพิวเตอร์

ภาษาคอมพิวเตอร์ (computer  language)  หมายถึง  ภาษาที่สามารถนำมาใช้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้   ซึ่งแต่ละภาษามีรายละเอียดดังต่อไปนี้
                         1) ภาษาเครื่อง (machine  language)
                        ภาษาเครื่องจัดเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาเดียวที่สามารถติดต่อกับคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง    เพราะว่าการเขียนคำสั่งและข้อมูลในภาษาเครื่องใช้ระบบเลขฐานสอง (binary number system) คือใช้ตัวเลข 0  และ 1 เท่านั้น   ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้รวดเร็ว   ส่วนข้อเสียของภาษาเครื่อง  คือ  เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันมีลักษณะการเขียนภาษาเครื่องที่แตกต่างกันไป  และเกิดความยุ่งยากในการปรับปรุงแก้ไข  ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้งาน    ดังนั้นภาษานี้จึงไม่เหมาะกับผู้เริ่มต้นเขียนโปรแกรม
ตัวอย่างที่  1.18  แสดงคำสั่งของภาษาเครื่องมีดังนี้  
ถ้าเราต้องการสั่งให้เครื่องทำงานตามคำสั่ง  9 + 3  แสดงได้ดังนี้
การบวกแทนด้วยรหัส                          10101010
เลข  9  เปลี่ยนเป็นเลขฐานสอง            00001001
เลข  3  เปลี่ยนเป็นเลขฐานสอง            00000011
ดังนั้น  คำสั่ง  9 + 3  เขียนเป็นภาษาเครื่องได้ดังนี้
00001001   10101010   00000011

                        2) ภาษาแอสเซมบลี (assembly  language)
                        ภาษาแอสเซมบลีหรือจะเรียกชื่ออีกอย่างว่าภาษาระดับต่ำ  ซึ่งเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมติดต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ง่ายกว่าภาษาเครื่อง    ส่วนการเขียนคำสั่งในภาษาแอสเซมบลีจะใช้คำย่อของภาษาอังกฤษและอ้างถึงตำแหน่งที่อยู่ภายในคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่  ได้แก่  MOVE, DC, DS, CL10 เป็นต้น    ผู้ที่ต้องใช้ภาษาแอสเซมบลีส่วนมากจะเป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์  ดังนั้นภาษาแอสเซมบลีจึงไม่เหมาะกับผู้เริ่มต้นเขียนโปรแกรม
            ตัวอย่างที่  1.19  แสดงคำสั่งของภาษาแอสเซมบลีมีดังนี้  
ถ้าเราต้องการสั่งให้เครื่องทำงานตามคำสั่ง  9 + 3  แสดงได้ดังนี้
                MOV   AX,  9
                MOV   BX, 3
                ADD   AX, BX
                        3) ภาษาระดับสูง (high  level  language)
                        ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเข้าใจได้ง่ายกว่าภาษาแอสเซมบลีและภาษาเครื่อง ทั้งนี้ก็เพราะการเขียนคำสั่งของภาษาระดับสูงมีลักษณะเป็นภาษาอังกฤษ    ซึ่งอ่านแล้วเข้าใจได้ง่ายกว่าภาษาแอสเซมบลี  เช่น  ใช้คำว่า  READ, WRITE, PRINT, COMPUTE  เป็นต้น    ตัวอย่างของภาษาระดับสูงได้แก่   ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN), ภาษาโคบอล (COBOL),  ภาษาเบสิก (BASIC), ภาษาปาสคาล (PASCAL)  และภาษาซี (C)   เป็นต้น  ซึ่งแต่ละภาษามีประวัติพอสังเขปดังต่อไปนี้
  • ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN  ย่อมาจาก  FORmula  TRANslator)  พัฒนาโดยบริษัท  IBM  ระหว่างปี ค.ศ.1954  ถึง  ค.ศ.1957  ภาษานี้ใช้สำหรับการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์  ที่ต้องใช้ในการคำนวณสมการคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน  ปัจจุบันภาษาฟอร์แทรนยังเป็นที่นิยมใช้  ในการพัฒนาโปรแกรมด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
  • ภาษาโคบอล (COBOL  ย่อมาจาก  Common  Business  Oriented  Language)  พัฒนาขึ้นในปี  ค.ศ.1959  เป็นภาษาที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ด้านธุรกิจและการค้า  ปัจจุบันโปรแกรมที่ใช้ในด้านธุรกิจจำนวนมากยังเป็นโปรแกรมที่พัฒนามาจากภาษาโคบอล
  • ภาษาเบสิก  (BASIC ย่อมาจาก  Beginners  All-purpose  Symbolic  Instructional  Code)  เป็นภาษาที่พัฒนาขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เริ่มต้นพัฒนาโปรแกรมสามารถเรียนรู้และเข้าใจการพัฒนาโปรแกรมอย่างง่าย  ภาษาเบสิกเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาแรกที่ใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
                                    ภาษาคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นในยุคแรก  ยังมีข้อจำกัดในการที่จะพัฒนาโปรแกรมขนาดใหญ่  ทั้งนี้เนื่องจากภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นขาดโครงสร้างที่ดี  ทำให้การพัฒนาโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนเป็นไปได้ยาก  ในช่วงต้นปี  ค.ศ.1970  จึงมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาษาเชิงกระบวนการ (Procedural  หรือ  Structural  Language)  เกิดขึ้น  ภาษาคอมพิวเตอร์ประเภทนี้จะมีความยืดหยุ่นในการพัฒนาโปรแกรม  ทำให้สามารถแก้ไขและบำรุงรักษาได้ง่าย  เนื่องจากโปรแกรมถูกแยกออกเป็นส่วน ๆ ภาษาคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาษาเชิงกระบวนการที่สำคัญคือ
  • ภาษาปาสคาล (Pascal) พัฒนาโดย  Niclaus  Wirth  ในปี ค.ศ.1971  โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการสอนการเขียนโปรแกรมภาษาเชิงกระบวนการ  ในมหาวิทยาลัย  แต่เนื่องจากภาษาปาสคาลไม่มีคุณลักษณะที่จะสนับสนุนการพัฒนาโปรแกรมด้านธุรกิจและอุตสาหกรรมจึงไม่ได้รับความนิยมมากนัก
  • ภาษาซี (C)  พัฒนาขึ้นในช่วงเดียวกับภาษาปาสคาล  โดยนักวิจัยที่ห้องปฏิบัติการ  AT&T  Bell  ซึ่งได้นำเอาจุดเด่นของภาษา  BCPL  และภาษา  B  มาใช้และได้เพิ่มคุณลักษณะและชนิดข้อมูลอื่นเข้ามาด้วย  เดิมภาษาซีถือว่าเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่สำคัญในการพัฒนาโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการยูนิกส์  (Unix)  ซึ่งเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่สามารถสร้างโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานได้รวดเร็วมาก  เมื่อเทียบกับภาษาคอมพิวเตอร์อื่น ๆ
                        4) ภาษาระดับสูงมาก  (very  high  level  language)
                        ภาษาระดับสูงมาก   บางครั้งเรียกว่า  Fourth Gerneration Languages (4GLs)   เป็นภาษาที่มีลักษณะสำคัญ  คือ  ผู้เขียนโปรแกรมไม่ต้องบอกวิธีการทำงานโดยละเอียด   เพียงแต่ระบุคำสั่งให้ทำงานสั้น ๆ   ให้ภาษาระดับสูงมากเข้าใจก็เพียงพอ    ส่วนวิธีการคำนวณหรือการทำงานภาษาระดับสูงมากจะเป็นผู้จัดการเองทั้งสิ้น    บางครั้งเรียกว่า  non-procedure language
ตัวอย่างภาษาระดับสูงมาก  ได้แก่  ภาษา SQL (Structured  Query  Langauge) ซึ่งนิยมใช้กันในซอร์ฟแวร์พัฒนาระบบจัดการฐานข้อมูล   เช่น   ORACLE   เป็นต้น
                        5) ภาษาระดับธรรมชาติ  (natural   language)
                        ภาษาธรรมชาติจะเกี่ยวข้องกับระบบฐานความรู้ (knowledge based system )  และกฎอ้างอิง  (inference rules)  เพียงแต่ผู้ใช้ภาษาธรรมชาติป้อนคำถามผ่านเข้าไปในคอมพิวเตอร์ที่มีภาษาธรรมชาติก็จะทำการวิเคราะห์คำถามแล้วไปค้นหาคำตอบจากระบบฐานความรู้ที่เก็บไว้
ตัวอย่างของภาษาธรรมชาติ  ได้แก่  ภาษา  PROLOG และภาษา LISP  (List  Processing Language)
            1.1.4 การทดสอบ และแก้ไขโปรแกรม  (testing  and  editing  program)
            หลังจากที่เราเขียนโปรแกรมเสร็จแล้ว    ขั้นตอนต่อไป  คือ  การทดสอบโปรแกรมที่เขียนขึ้นซึ่งอาจพบความผิดพลาดได้  2  ชนิด   ดังนี้
                        1) ความผิดพลาดทางไวยากรณ์ภาษา (syntax  error)  เป็นความผิดพลาดที่เกิดจากการเขียนคำสั่งของภาษาคอมพิวเตอร์ผิด   ตัวอย่างเช่น    คำสั่ง  printf( )  ในภาษา C   ต้องเขียนด้วยตัวอักษรตัวเล็ก   แต่เขียนเป็น  PRINTF( )  เป็นต้น     โดยส่วนมากความผิดพลาดทางไวยากรณ์    จะถูกตรวจสอบพบเมื่อมีการแปลโปรแกรม (compile)  ให้เป็นภาษาเครื่อง  ซึ่งเราสามารถแก้ไขโดยการเขียนคำสั่งให้ถูกต้องตามไวยากรณ์ของภาษานั้น ๆ
                        2) ความผิดพลาดทางตรรกะ (logical  error)  เป็นความผิดพลาดที่เกิดจากการลำดับการทำงานผิดหรือป้อนสูตรคำนวณผิด ตัวอย่างเช่น ต้องการหาค่า  X = X + Y แต่ป้อนสูตรเป็น X = X * Y  อย่างนี้  เป็นต้น  วิธีการตรวจหาความผิดพลาดแบบนี้    คือ    ตรวจสอบการคำนวณผลลัพธ์ของโปรแกรมว่าตรงกับผลลัพธ์ที่คำนวณด้วยมือหรือเครื่องคิดเลขหรือไม่    ถ้าไม่ตรงกันแสดงว่าเกิดความผิดพลาดทางตรรกะขึ้น    วิธีการแก้ไขก็คือ  การแก้ไขสูตรให้ถูกต้อง หรือแก้ไขลำดับการทำงานให้ถูกต้อง
ดังนั้น  จะเห็นได้ว่าผู้เขียนโปรแกรมจะต้องทำการทดสอบโปรแกรมและแก้ไขโปรแกรมให้สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
            1.1.5 การจัดทำเอกสารประกอบ และการบำรุงรักษาโปรแกรม (documentation  and  maintenance  program)
            เมื่อผู้เขียนโปรแกรมได้ทำการทดสอบโปรแกรมและแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็ควรจัดทำคู่มือการใช้โปรแกรม    เพราะจะทำให้ผู้ใช้โปรแกรมสามารถใช้งานได้ถูกต้อง    โดยคู่มือการใช้โปรแกรมที่ดีควรจัดทำในลักษณะที่แสดงการทำงานเป็นขั้นตอน    ผู้ใช้โปรแกรมสามารถปฏิบัติตามได้จริง  ส่วนการบำรุงรักษาโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นก็ต้องมีคำแนะนำให้ผู้ใช้โปรแกรมปฏิบัติ    ตัวอย่างเช่น    การเก็บโปรแกรมต้นฉบับ     ควรเก็บไว้ในกล่องที่มิดชิด     ป้องกันฝุ่นได้     ไม่ควรเก็บไว้บนโต๊ะทำงาน     ไม่ควรเก็บไว้ในรถยนต์เพราะอาจถูกอากาศร้อนทำให้เสียได้       นอกจากนี้ต้องมีการสำเนาโปรแกรมต้นฉบับเอาไว้    อย่างน้อย  1  ชุด  แล้วนำชุดที่สำเนาไปใช้    ไม่ควรใช้โปรแกรมต้นฉบับโดยตรง    ควรเก็บเอาไว้สำหรับกรณีที่โปรแกรมสำเนาเกิดปัญหาจะได้นำโปรแกรมต้นฉบับมาทำสำเนาและใช้งานได้ทันที